share

ครอบแก้ว

Last updated: 30 Nov 2023
353 Views
ครอบแก้ว

การรักษาโรคโดยการครอบแก้ว (Cupping) สามารถช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่มีการติดขัดทำให้เลือดและพลังมีการไหลเวียนที่ดีขึ้น  สามารถรักษาอาการปวด โดยเฉพาะบริเวณ บ่า หลัง และเอว (เหมาะสำหรับผู้ที่ทำงานนั่งโต๊ะหรือใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน ) และด้านการส่งเสริมความงามช่วยให้ผิวพรรณดูเปล่งปลั่ง มีเลือดฝาด  หลังจากการทำครอบแก้วแล้ว บริเวณผิวหนังอาจมีรอยคล้ำ  แต่ไม่มีอันตราย รอยจะหายเองในเวลาประมาณ 5-7 วัน และสามารถทำได้อีกเมื่อรอยจางหาย

โรคที่เหมาะกับการรักษาด้วยการครอบแก้ว มีโรคอะไรบ้าง?

1.โรคระบบทางเดินหายใจ โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง หอบหืด ปอดบวม ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มปอด อักเสบ ตําแหน่งจุด ต้าจู้เฟิงเหมินเฟ่ยซูอิ๋งชวง

2.โรคระบบทางเดินอาหาร กระเพาะอักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ปวดระบบประสาทกระเพาะ อาหารไม่ย่อย กรด เกินในกระเพาะอาหาร ตําแหน่งจุด กานซูผีซูเก๋อซูจางเหมิน ลําไส้อักเสบเฉียบพลันและเรื้อรัง ตําแหน่งจุด ผีซูเว่ยซูต้าฉางซูเทียนซู

3.โรคระบบหมุนเวียนเลือดความดันโลหิตสูง ตําแหน่งจุด กานซูต่านซูผีซูเซิ่นซูเว่ยจงเฉิงซาน จู๋ซานลี่ โรคหัวใจขาดเลือด ตําแหน่งจุด ซินซูเก๋อซูเกาฮวงซูจางเหมิน

4.โรคระบบการเคลื่อนไหวร่างกาย ปวดกระดูกต้นคอ ข้อไหล่ปวดไหล่สะบัก ปวดข้อศอก ตําแหน่งจุด จุดที่กดเจ็บ หรือ บริเวณข้อต่อต่าง ๆปวดหลัง ปวดเอว ปวดก้นกบ ปวดสะโพก ตําแหน่งจุด ตามจุดที่ปวดต่าง ๆ หรือรอบ ๆ ข้อต่อต่าง ๆ ปวดเข่า ปวดข้อเท้า ปวดส้นเท้า ตําแหน่งจุด ตําแหน่งที่ปวด และรอบ ๆ ข้อต่อ

5.โรคระบบประสาท ปวดหัวจากระบบประสาท ตําแหน่งจุด จางเหมิน ซีเหมิน และบริเวณปวดชายโครง ปวดเส้นประสาทไซแอทิค ตําแหน่งจุด จื้อเบียน หวนเทียว เว่ยจง โรครูมาตอยด์ตําแหน่งจุด ต้าจุยเกาฮวงซูเซิ่นซูเฟิงซื่อ และบริเวณที่ปวดชา กล้ามเนื้อลําคอหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เจียนจิ่ง ต้าจุย เจียนจงซูเซินจู้ กล้ามเนื้อหดน่องเกร็ง ตําแหน่งจุด เว่ยจงเฉิงซาน และบริเวณที่คนไข้หดเกร็ง เส้นประสาทใบหน้าหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เซี่ยกวน ยิ้นกางเจี๋ยเชอ กระบังลมหดเกร็ง ตําแหน่งจุด เก๋อซูจิงเหมิน

6.โรคสตรี ปวดท้องประจําเดือน ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ตกขาว ตําแหน่งจุด กวนหยวน จื่อกง ซานอินเจียว อุ้งเชิงกราน ตําแหน่งจุด จื้อเปียน เยาซูกวนหยวน

7.โรคอายุรกรรมภายนอก ฝีหนอง ตําแหน่งจุด เซินจู้กับบริเวณฝี มีก้อนซีสอักเสบ ตําแหน่งจุด จื้อหยาง

สีจากการครอบแก้วบอกอะไรได้บ้าง?
เมื่อทำการรักษาโดยการครอบแก้วเสร็จแล้ว ตรงบริเวณของผิวหนังที่โดนครอบแก้วจะเกิดเป็นรอยจ้ำสีม่วง ๆ ขึ้น ซึ่งความเข้มของรอยจ้ำดังกล่าว สามารถบอกได้ถึงลักษณะอาการปวดตรงบริเวณนั้น ๆ ได้ว่าเป็นอย่างไร โดยยิ่งมีสีที่เข้มมากเท่าไร ก็แสดงได้ว่า บริเวณดังกล่าวมีอาการปวดมากเป็นพิเศษ (รอยจ้ำ ๆ ของผิวหนังบริเวณที่โดนครอบแก้ว จะเป็นรอยอยู่ประมาณ 1อาทิตย์ แล้วจะจางหายไปเอง)

สีชมพูอ่อน : สุขภาพแข็งแรงดี ระบบเลือดลงไหลเวียนปกติ
สีแดง : ร่างกายมีความร้อนเล็กน้อย อ่อนล้าปานกลาง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
สีแดงสด : ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รุนแรง เลือดลมติดขัด
สีซีด : ลมปราณ และ เลือดอยู่ในระดับพร่องพลังในร่างกายน้อยลงกว่าปกติ
สีคล้ำ : ลมปราณติดขัดจนเกิดเลือดคั่ง ความเย็นสะสม มีรอยจุดสีคล้ำ อยู่บริเวณที่ครอบแก้ว : ลมปราณติดขัดจนเกิดเลือดคั่ง ความเย็นสะสม

ปฏิบัติตัวอย่างไรหลังครอบแก้ว?
- หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำเย็น ควรดื่มน้ำสะอาดที่อุณหภูมิห้องหรือน้ำอุ่นเป็นเวลา 1 วัน เพราะการดื่มน้ำอุ่นจะมีส่วนช่วยให้ร่างกายขับของเสียออกได้โดยง่าย
- งดอาบน้ำ หรือตากแอร์เย็นเป็นเวลา 2 ชั่วโมง หลังจากครอบแก้ว
- ควรพักผ่อนหลังจากครอบแก้ว เพราะการครอบแก้วอาจทำให้ผู้ป่วยบางรายเกิดอาการอ่อนเพลียได้
- อาการผิดปกติที่ควรโทรสอบถาม หรือมาพบแพทย์ เช่น มีอาการบวม แดง แสบร้อน มากผิดปกติ ปวดรุนแรงบริเวณจุดครอบแก้ว หรือมีไข้สูง
- โดยเฉลี่ยสามารถครอบแก้วได้สัปดาห์ละ 1-2ครั้ง หากผู้ป่วยมารับการรักษาต่อเนื่อง ร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามคำแนะนำของแพทย์ จะทำให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงขึ้น

 

การให้บริการครอบแก้วรักษาอาการของคลินิกที่เป็นที่นิยมมีดังนี้

1.ครอบแก้วขับพิษ ป้องกันโรคตับ

2.ครอบแก้วช่วยบำบัดโรค กลุ่มโรคปวด ทางเดินหายใจ

3.การขับพิษด้วยครอบแก้ว

4.ครอบแก้วรักษาไขข้ออักเสบ

5.ครอบแก้วฟื้นฟูสุขภาพ

6.ครอบแก้วรักษาไมเกรน

 

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ราคาค่ารักษา สำรองคิวการรับการปรึกษา นัดหมายการรักษา ได้ที่ 081-7147438 , 095 - 1264488, Lind ID : @2kclinic

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดกดจุดรักษาโรค
เป็นการใช้นิ้วมือกดนวดบริเวณร่างกายของมนุษย์ตามกายวิภาคศาสตร์ร่วมกับศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทย โดย อ.พท.สุรศักดิ์ สิงห์ชัย
3 Jan 2024
รับปรึกษาปัญหาสุขภาพและตรวจโรคทั่วไป
ให้บริการตรวจทางเวชกรรมแผนไทยวินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีน
3 Jan 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy