share

โรคระบบทางเดินอาหาร

Last updated: 19 Nov 2023
228 Views
โรคระบบทางเดินอาหาร

กลุ่มอาการโรคระบบทางเดินอาหารที่พบบ่อยและสามารถรักษาได้กรรมวิธิแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีน

1.โรคกระเพาะอาหาร

คือ โรคที่มีอาการปวดท้องหรือไม่สบายท้องที่มีสาเหตุจากความผิดปกติของบริเวณกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้นก็ได้ จะมีอาการแสดงออกมาในลักษณะของ การปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ เหนือสะดือ ปวดใต้ชายโครงซ้าย บางรายปวดแน่นถึงหน้าอก อาการมักเป็นๆ หายๆ และสัมพันธ์กับมื้ออาหาร อาจปวดก่อนทานอาหารในเวลาหิว หรือปวดหลังอาหารเวลาอิ่ม อาการเหล่านี้จะดีขึ้นได้เมื่อรับประทานอาหาร หากโรคนี้รุนแรงขึ้นอาจมีอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลด ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร คือ

  • เชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลโร ซึ่งติดต่อได้จากการรับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำที่ไม่สะอาดปนเชื้อโรคชนิดนี้ ทำให้เกิดแผลกระเพาะอาหาร และมะเร็งกระเพาะอาหารบางชนิดได้
  • ยาแก้ปวดข้อ ปวดกระดูก (Aspirin และ NSAID) รวมถึงยารักษาสิว อาจทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร ในหลอดอาหารจนอักเสบมากขึ้น
  • การสูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ทำให้อัตราการเป็นแผลในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น แผลหายช้า หรือเป็นเรื้อรังได้ง่าย ส่งผลให้ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาไม่ดีนัก
  • ภาวะเครียด รับประทานอาหารเผ็ด หรือไม่ตรงเวลา
  • ติดเชื้อทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย อาหารเป็นพิษ

2.โรคกรดไหลย้อน

คือภาวะที่กรดหรือน้ำย่อยในกระเพาะอาหารไหลย้อนมาในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการอักเสบของหลอดอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการปวดแสบร้อนบริเวณหน้าอก และลิ้นปี่ ที่เรียกว่า Heart Burn บางครั้งอาจจะร้าวไปที่คอ  รู้สึกว่ามีก้อนอยู่ในคอ กลืนลำบาก หรือกลืนแล้วเจ็บ มีอาการเจ็บคอ หรือแสบลิ้นเรื้อรัง โดยเฉพาะในตอนเช้ารู้สึกเหมือนมีรสขมของน้ำดี หรือมีรสเปรี้ยวของกรดในคอ หรือปาก มีเสมหะอยู่ในคอ หรือระคายคอตลอดเวลา เรอบ่อย คลื่นไส้ และรู้สึกจุกแน่นอยู่ในหน้าอก คล้ายอาหารไม่ย่อย หากอาการรุนแรงอาจส่งผลให้เสียงแหบเรื้อรัง หรือแหบเฉพาะตอนเช้า หรือมีเสียงผิดปกติจากเดิม มีอาการไอเรื้อรัง รู้สึกสำลักในเวลากลางคืน กระแอม ไอบ่อย  มีอาการหอบหืดที่แย่ลงทุกวัน เจ็บหน้าอก รวมถึงเป็นโรคปอดอักเสบเป็นๆ หายๆ 

พฤติกรรมที่เสี่ยงเป็นกรดไหลย้อน เช่น ดื่มสุรา อ้วน สูบบุหรี่ ชอบทานอาหารรสเปรี้ยว เผ็ด อาหารมักดอง อาหารมัน อาหารย่อยยาก ทานอาหารมากจนอิ่มเกินไป ชอบทานช็อกโกแลต กาแฟ น้ำอัดลม เครียด ชอบอาหารมัน ของทอด ชอบทานหอม กระเทียม และมะเขือเทศ

3.ท้องเสีย อุจจาระร่วง 

คือการถ่ายอุจาระเหลว หรือเป็นน้ำ มากกว่า 3 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายเหลวมีเลือดปนเพียง 1 ครั้งใน 24 ชั่วโมง โดยทั่วไปอาการท้องร่วงมักหายได้เองใน 2-3 วันโดยที่ไม่ต้องรักษา หากเป็นนานกว่านั้นควรมาพบแพทย์ ผู้ป่วยโรคท้องร่วงจะมีอาการ แน่นท้อง ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน และถ่ายบ่อย โรคท้องร่วงถ้าเป็นนานกว่า 3 สัปดาห์เรียกว่าเรื้อรัง ถ้าหายภายใน 3 สัปดาห์เรียกท้องร่วงเฉียบพลัน โดยมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย และเชื้อไวรัสสาเหตุของอาการท้องเสีย อุจจาระร่วงที่พบบ่อยๆ คือ

- การติดเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเกิดจากการรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ได้แก่ เชื้อบิดไม่มีตัว Shigella ไข้ไทฟอยด์ ที่มาจากเชื้อแบคทีเรีย Salmonella เป็นต้น
- การติดเชื้อไวรัส ได้แก่ Rotavirus และ Norwalk virus
- การติดเชื้อพยาธิ เช่น Giardia lamblia, Entamoebahistolytica
- แพ้อาหาร และนม
- ยา เช่น ยาลดความดัน ยาปฏิชีวนะ ยาระบาย
- ลำไส้มีการอักเสบ

4.ภาวะลำไส้แปรปรวน

เป็นภาวะที่มีความผิดปกติในการบีบตัวของลำไส้ใหญ่มากเกินไป ส่งผลให้มีอาการปวดท้อง ถ่ายบ่อย ผู้ป่วยจะมีอาการปวดท้องร่วมกับมีการขับถ่ายที่ผิดปกติ บางรายอาจมีอาการท้องผูก ท้องเสีย หรือท้องผูกสลับกับท้องเสีย อาการสำคัญของลำไส้แปรปรวน คือปวดท้องหรือแน่นท้อง ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของการขับถ่าย อาการปวดท้องมักจะเริ่มเมื่อมีการขับถ่ายบ่อยมากขึ้น ขับถ่ายน้อยลง หรือเมื่อมีท้องผูกหรือถ่ายเหลว และอาการปวดจะดีขึ้นเมื่อหยุดถ่าย การวินิจฉัยและรักษา ทางการแพทย์จะประเมินว่าปัญหาของผู้ป่วยแต่ละรายมีที่มาอย่างไร เช่น ผู้ป่วยบางรายมีอาการเล็กน้อยไม่รบกวนกิจวัตรประจำวัน แต่มาพบแพทย์เพื่อต้องการทราบว่าป่วยเป็นโรคอะไร หรือมีความวิตกกังวลว่าจะเป็นโรคร้ายแรง แพทย์ก็จะให้คำแนะนำ หรือส่งตรวจเพื่อยืนยันให้ผู้ป่วยทราบว่าไม่ได้เป็นโรคร้ายแรง โดยไม่จำเป็นต้องใช้ยาก็อาจเพียงพอสำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่กรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมากและรบกวนชีวิตประจำวันอาจต้องรับยารักษาร่วมด้วยเพื่อการบรรเทาอาการถ่าย

5.ไวรัสตับอักเสบบี

โรคนี้ค่อนข้างน่ากลัวมาก เนื่องจากผู้คนไม่ค่อยให้ความสนใจไวรัสตับอักเสบบี ติดต่อได้จากมารดาสู่ทารกขณะคลอด โดยเฉพาะมารดาที่ไม่ทราบว่าตนเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีอยู่ภายในร่างกาย หากเกิดการติดเชื้อขึ้นภายในขวบปีแรกของทารก โอกาสที่จะมีการติดเชื้อเรื้อรังจะสูงมาก การติดต่อจากมารดาสู่ทารกเป็นสาเหตุสำคัญของการติดเชื้อที่เกิดขึ้นในประเทศไทย รวมถึงการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็ม การฉีด หรือเจาะตามร่างกายที่ไม่ถูกวิธีและไม่ได้ทำโดยวิธีปลอดเชื้อ การให้เลือด ฟอกไต การปลูกถ่ายอวัยวะ และติดต่อจากบุคคลในบ้าน โดยการใช้ของที่อาจปนเปื้อนเลือด หรือสารคัดหลั่ง เช่น มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ เมื่อได้รับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกาย เชื้อจะเข้าไปฟักตัวในตับ ทำให้เกิดภาวะตับอักเสบบีเฉียบพลันประมาณร้อยละ 30 ของผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการชัดเจน อาการที่พบ เช่น มีไข้ต่ำๆ คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย ตามมาด้วยตัวเหลือง ตาเหลือง เมื่อเกิดอาการที่แสดงชัด หรือตรวจแล้วเจอก้อน ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะสุดท้ายแล้ว

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำรองคิวการรับการปรึกษา นัดหมายการรักษา ได้ที่ 081-7147438 , 095 - 1264488 , Lind ID : @2kclinic



บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดกดจุดรักษาโรค
เป็นการใช้นิ้วมือกดนวดบริเวณร่างกายของมนุษย์ตามกายวิภาคศาสตร์ร่วมกับศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทย โดย อ.พท.สุรศักดิ์ สิงห์ชัย
3 Jan 2024
การนึ่งท้องยุบ
เป็นการนำเอาความร้อนมากระตุ้นให้สมุนไพรหรือเครื่องยาให้ออกฤทธิ์ได้เต็มที่ โดยจะช่วยในการขับเลือดทำให้มดลูกแห้ง ขับน้ำคาวปลา แผลแห้งและทำให้ท้องของมารดาหลังคลอดนั้นยุบเข้าที่สวยงาม ไม่หย่อนคล้อย รวมถึงการขับไขมันบริเวณหน้าท้องของคนอ้วน หรือผู้ที่มีไขมันหน้าท้อง
12 Dec 2023
นวดปรับสมดุล
จัดสมดุล ดึง – ดัด ปรับโครงสร้างร่างกาย ด้วยศาสตร์การนวดไทยแบบผสมผสานและบูรณาการ
12 Dec 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy