share

โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่บำบัดด้วยกรรมวิธีทางแพทย์แผนไทยและ/หรือแพทย์แผนจีน

Last updated: 19 Nov 2023
298 Views
โรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่บำบัดด้วยกรรมวิธีทางแพทย์แผนไทยและ/หรือแพทย์แผนจีน

กลุ่มอาการโรคระบบกระดูกและกล้ามเนื้อที่พบบ่อยและสามารถรักษาได้กรรมวิธิแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีน

 

1.โรคกระดูกต้นคอเสื่อม/ปวดหลัง คอ บ่า ไหล่

เกิดจากการก้มหน้าบ่อยและนาน จนทำให้กล้ามเนื้อเส้นประสาทและเส้นเอ็นตึงเกร็ง อาการที่พบ ลักษณะเหมือนนอนคอตกหมอนหรือคอเคล็ด แต่หากมีการกดทับรากประสาทจะมีอาการปวดชาหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อแขนร่วมด้วยต้องรีบมาพบแพทย์โดยเร็ว

2.ข้อไหล่ติด/หัวไหล่ติด

ข้อไหล่ติด พบมากในเพศชายและเพศหญิงที่สูงอายุ มีการเสื่อมของเอ็นรอบข้อและปลายกระดูกไหปลาร้าที่อยู่ติดกับข้อมีหินปูนเกาะรอบข้อ จนอักเสบหรือเกิดจากกระดูกงอกบริเวณกระดูกสะบักด้านหน้า บางคนเคยได้รับอุบัติเหตุข้อไหล่เคลื่อนจะมีอาการปวดหัวไหล่ปวดร้าวลงมาบริเวณต้นแขน บางครั้งอาจนอนตะแคงทับหัวไหล่ข้างที่ปวดไม่ได้เลย 

3.ข้อเข่าเสื่อมผิดรูป หรือ โรคเก๊าท์

โรคข้อเข่าเสื่อมตามวัย หรือโรคข้อเข่าคลอนแคลน มักพบในเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปและพบข้อเข่าเสื่อมก่อนวัยเพิ่มขึ้นในหนุ่มสาววัยทำงาน นักฟุตบอลหรือนักวิ่งที่ใช้เข่าเยอะ มีอาการปวดอักเสบ บวม แดง ร้อนที่ข้อเข่า ขณะลุกขึ้นยืนและมีเสียงในข้อขณะเคลื่อนไหว

4.หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะมีอาการปวดหลังร้าวลงขาไปจนถึงน่องหรือหลังข้อเท้าข้างใดข้างหนึ่ง มีอาการปวดที่ทรมานมาก บางคนเจ็บข้อพับเข่าด้านหลัง ปวดน่อง นิ้วเท้าชา หลังเล่นกีฬาและเข้าใจผิดว่ากล้ามเนื้ออักเสบ

5.โรคปวดศีรษะไมเกรน

ปวดหัวไมเกรน พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย อาการคือปวดหัวข้างเดียวที่หน้าผาก ขมับ หรือท้ายทอยมีอาการคลื่นไส้อาเจียนและไวต่อเสียงหรือแสง บางครั้งจะรู้สึกปวดศีรษะจากกล้ามเนื้อตึงตัว โดยจะปวดทั้ง 2 ข้างเหมือนถูกรัดบีบหัว หลายคนคิดว่าทานยาแก้ปวดเดี๋ยวก็หาย อาจไม่ใช่การรักษาที่ถูกวิธี หากเป็นบ่อย ควรพบแพทย์เพื่อหาวิธีการป้องกันแก้ไขและการรักษาในลำดับต่อไป

6.โรคนอนกรน

ปัจจัยเสี่ยงของโรคนี้อาจเกิดจาก กระดูกคางที่เล็กหรือค่อนไปด้านหลัง หรือลักษณะผิดปกติของโครงสร้างจมูก ซึ่งโรคนอนกรน อาจเป็นสาเหตุของโรคหยุดหายใจในขณะนอนหลับ ซึ่งเกิดจากการอุดกั้น ถือได้ว่ามีความเสี่ยงและอันตรายมาก

 7.โรคพาร์กินสัน

คือ โรคความเสื่อมของสมองที่เกิดจากการขาดสารโดพามีน พบมากในคนที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปและพบในวัยกลางคนที่มีสมาชิกในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน มักเริ่มด้วยอาการสั่นที่แขน ขา กราม ใบหน้า กล้ามเนื้อเกร็ง การเคลื่อนไหวช้า พูดหรือกลืนลำบาก เริ่มมีความเศร้า หดหู่ หากปล่อยไว้นานอาจเกิดความรุนแรงทำให้ร่างกายฟื้นตัวยาก

8.โรคหลอดเลือดสมองอุดตัน หรือ Stroke

ปัจจุบันพบได้ในกลุ่มอายุ 45 ปีขึ้นไป มักพบในผู้ป่วยเบาหวาน โรคความดันสูงโรคหัวใจ ไขมันในเลือดสูง รวมถึงผู้ที่สูบบุหรี่จัดหรือคนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน อาการเริ่มต้นคือปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยว มุมปากตก มีอาการชาครึ่งซีก แขนขาไม่มีแรง พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ออก มีอาการปวดศีรษะเฉียบพลัน เวียนหัว ตาพร่ามัวเมื่อเกิดอาการอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นต้องรีบไปพบแพทย์ภายใน 3 ชั่วโมง เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

9.ข้อสะโพกเบี่ยง ส.3 (หรือข้อสะโพกโกเยก)

สำหรับใครที่มีอาการปวดง่ามขาด้านใดด้านหนึ่ง เจ็บแปลบที่สะโพกขณะเดินหรือวิ่ง ปวดสะโพกและปวดเข่าปวดด้านในเข่าเจ็บเวลาเดิน ต้องระมัดระวังเพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนของอาการโรคสะโพกเสื่อม ส่วนใหญ่พบในผู้สูงอายุเกิดจากการสึกหรอของผิวข้อต่อ

10.ข้อเท้าแพลง

คือ ภาวะการบาดเจ็บของเส้นเอ็นยึดตรึงข้อเท้าอย่างเฉียบพลัน  เมื่อข้อเท้าเกิดการบิดหมุนออกจากเท้าอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เนื้อเยื่อรอบๆบริเวณนั้นเกิดการบาดเจ็บแบบฟกช้ำ จนถึงฉีกขาด บางกรณีถึงขั้นกระดูกหัก โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องเฝ้าระมัดระวังคือ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือนักกีฬาประเภทเข้าปะทะหนักๆ รวมทั้งผู้หญิงที่ชอบใส่รองเท้าส้นสูงอยู่เป็นประจำ กลุ่มบุคคลเหล่านี้จะมีโอกาสข้อเท้าแพลงได้มากกว่าบุคคลปกติ

11.นิ้วล็อค

เป็นความผิดปกติของมือที่ไม่สามารถงอหรือเหยียดได้อย่างปกติ  อาจเป็นนิ้วเดียวหรือหลายนิ้วภาวะนี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงที่ปลอกเอ็นบริเวณข้อโคนนิ้วหนาตัวขึ้น เอ็นบวม  ทำให้ปลอกรัดเอ็นมากขึ้น อาจเกิดจากการใช้แรงงอนิ้วมากๆ  หรือกำนิ้วแน่นมากๆ ทำให้เกิดการเสียดสีบริเวณปลอกหุ้มเอ็นมาก  ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลง  หรือการเสื่อมของเซลล์ร่วมด้วย พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และพบได้บ่อยร่วมกับโรคเบาหวาน รูมาตอยด์

12.โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต

อาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อข้างใดข้างหนึ่ง อาจจะเป็นทั้งแขนและขา มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว เช่น การนั่ง การยืน หรือการเดินไม่ได้ แม้ว่ากล้ามเนื้อยังคงมีแรงอยู่ ปัญหาเกี่ยวกับการสื่อสาร ผู้ป่วยบางรายไม่สามารถพูด และไม่สามารถเข้าใจภาษาทั้งพูดและเขียน บางรายพูดไม่ได้แต่ฟังรู้เรื่อง บางรายพูดลำบาก ไม่สนใจอวัยวะข้างใดข้างหนึ่ง มักเกิดในผู้ป่วยที่อ่อนแรงข้างซ้าย มีอาการชา หรือปวดข้างใดข้างหนึ่ง มีปัญหาเกี่ยวกับความจำ ความคิด และการเรียนรู้ มีปัญหาเกี่ยวกับการกลืนอาหาร มีปัญหาเกี่ยวการควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะและอุจจาระ มีอาการเหนื่อยง่าย มีอารมณ์ผันผวน เช่น หัวเราะ หรือร้องไห้เสียงดัง

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำรองคิวการรับการปรึกษา นัดหมายการรักษา ได้ที่ 081-7147438 , 095 - 1264488, Lind ID : @2kclinic

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดกดจุดรักษาโรค
เป็นการใช้นิ้วมือกดนวดบริเวณร่างกายของมนุษย์ตามกายวิภาคศาสตร์ร่วมกับศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทย โดย อ.พท.สุรศักดิ์ สิงห์ชัย
3 Jan 2024
นวดปรับสมดุล
จัดสมดุล ดึง – ดัด ปรับโครงสร้างร่างกาย ด้วยศาสตร์การนวดไทยแบบผสมผสานและบูรณาการ
12 Dec 2023
การนวดตอกเส้น
เป็นการรักษาที่คลายเส้นได้เร็วกว่าการนวดไทย เพราะมุ่งเน้นการกระตุ้นจุดหรือเส้นที่สำคัญในร่างกายของคน จะทำให้เส้นที่อยู่ลึกลงไปดีดขึ้นมา และกระตุ้นกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นให้เลือดสูบฉีดได้มากขึ้น ซึ่งหมอนวดบางคนจะใช้การตอกเส้นควบคู่กับการนวด
2 Dec 2023
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy