share

การกวาดยาสมุนไพร

Last updated: 2 Dec 2023
289 Views
การกวาดยาสมุนไพร

การกวาดยาสมุนไพร คืออะไร?

เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของวิธีการรักษาโรคเด็ก ของภูมิปัญญาไทย ด้วยเหตุว่ายาไทยรสไม่อร่อย ทำให้เด็กกินยายาก อีกทั้งหากเป็นเด็กเล็กกินยาเองยังไม่ได้จำต้องพายาเข้าสู่ร่างกายด้วยการกวาดยาสมุนไพร โรคที่สามารถรักษาโดยการกวาดยาสมุนไพรมีอยู่หลายระบบ เช่น เป็นโรคในระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบผิวหนัง โดยอาการเบื้องต้นเกิดจากการสังเกตุเห็นความผิดปกติ เช่น ท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องเสีย ท้องผูก ลิ้นเป็นฝ้า ละออง แผลในปาก กระพุ้งแก้ม ตุ่ม ผื่นคัน หวัด ไอ มีเสมหะ อาการเหล่านี้ทางการแพทย์แผนไทยและชาวบ้านทั่วไปทราบกันดีว่าอยู่ในกลุ่มโรค ซาง หละ ละออง เป็นต้น ซึ่งโรคเป็นโรคพื้นๆ ที่คนในครอบครัวชุมชนดูแลกันในเบื้องต้นได้

จะเห็นได้ว่า หัตถการกวาดยาสมุนไพร ไม่ใช่การรักษาเฉพาะเด็กเท่านั้น  ผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย ที่มีอาการโรคดังกล่าวก็สามารถรักษาได้ด้วยเช่นกัน

 

ตำรับยาสมุนไพรที่ใช้ในการกวาดยา มีอะไร รักษาอาการอะไรได้บ้าง?

 

  

ยาสามัญประจำบ้านหลายตำรับที่มีขายตามร้านขายยาทั่วไป และมีสรรพคุณตามโรคและอาการที่เป็นบ่อยๆ เช่น

1.ยาเหลืองปิดสมุทร : ใช้ในกรณีเด็กท้องเสีย

2.ยาอัมฤควาที : ใช้ในกรณีที่เด็กไอ มีเสมหะ

3.ยาตรีหอม : ใช้ในกรณีที่เด็กมีไข้ ท้องผูก

4.ยามหานิลแท่งทอง : ใช้ในกรณีเด็กปากเปื่อย ตัวร้อน

5.ยาแสงหมึก : ใช้ในกรณีเด็กเป็นฝ้า ละออง

6.ยาประสะกะเพรา : ใช้ในกรณีเด็กแพ้อากาศ มีน้ำมูก

สิ่งสำคัญประการหนึ่งในการใช้ยาไทยคือต้องใช้น้ำกระสายเพื่อให้นำมาละลายยาและตรงกับโรคที่เป็นได้มากขึ้น ซึ่งการใช้น้ำกระสายยามีหลักการดังนี้

 - อาการไอ มีเสมหะ น้ำกระสาย ใช้น้ำมะนาว แทรกเกลือ เป็นต้น

- อาการไข้ น้ำกระสาย ใช้น้ำดอกไม้เทศ เป็นต้น

- อาการลิ้น ปากเป็นแผล น้ำกระสายใช้เบญกานี เป็นต้น

ถ้าไม่มีน้ำกระสายที่กล่าวมา ใช้น้ำต้มสุกเป็นกระสายแทนได้ทุกกรณี

อุปกรณ์ที่ใช้ในการกวาดยาสมุนไพร?

1.ถุงมือ หรืออาจจะเป็นถุงนิ้วมือใส่เฉพาะนิ้วที่จะป้ายยาสำหรับกวาด เพื่อความสะอาดป้องกันเล็บบาด หรือครูดภายในปาก และป้องกันโรคที่อาจจะติดต่อหากเกิดแผล

2.นิ้วมือของหมอผู้กวาดยา โดยมากใช้นิ้วชี้กับนิ้วก้อย แล้วแต่ขนาดของทารกและเด็ก ถ้าเป็นเด็กโตก็ต้องใช้ยามากจึงต้องใช้นิ้วชี้ ถ้าเป็นเด็กเล็ก หรือทารก การใช้ยาก็น้อยลงจึงใช้นิ้วก้อย โดยตัดเล็บให้สั้นและล้างมือด้วยน้ำสบู่ให้สะอาด

ตำแหน่งที่กวาดยาสมุนไพร

เป็นตำแหน่งที่ผู้กวาดยาต้องการให้ยาถูกหรืออยู่ติดบริเวณนั้น มักเป็นโคนลิ้น เพื่อให้เด็กกลืนยาเข้าไปหลังการกวาดยา และบริเวณที่มีอาการของโรคปรากฏ ให้สังเกตเห็นได้โดยการดูและสัมผัสโดยปลายนิ้ว


ข้อปฏิบัติในการกวาดยาสมุนไพร

สำหรับเด็ก/ผู้ที่มารักษา

1.งดอาหาร น้ำ นม ข้าว ขนมก่อนกวาดยาประมาณ 20-30 นาที เพื่อป้องกันเด็กอาเจียน

2.ควรปลุกเด็กให้ตื่นก่อนกวาดยา ถ้าเด็กหลับจะงุ้มปากและเอาลิ้นดุนเพดานไว้ ทำให้กวาดยาไม่ได้

3.จับเด็กนอนหงาย บนตักผู้อุ้ม พร้อมจับมือทั้งสองข้างให้แนบแน่นกับลำตัวของเด็ก ป้องกันทารกหรือเด็กปัดมือผู้กวาดยา

4.หลังจากกวาดยาแล้วให้อุ้มอยู่ในท่าเฉลียงเอาศรีษะขึ้น 45องศา จนกว่าเด็กจะกลืนยาหมด แต่ถ้าเด็กอาเจียน ให้ค่อยๆ ยกศรีษะขึ้น สิ่งที่อาเจียนออกมาจะได้ไหลสะดวกไม่สำลักเข้าหลอดลม

5.หลังจากกวาดแล้ว ควรงดอาหารและน้ า 5 นาที เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้ดีขึ้น

 สำหรับแพทย์แผนไทยผู้กวาดยา

ก่อนที่จะกวาดยาต้องพูดให้เด็กเข้าใจเพื่อให้เด็กร่วมมือในการกวาดยา และไม่ต่อต้านซึ่งจะช่วยให้เด็กไม่กลัวการกวาดยา

1.ทำความสะอาดมือ นิ้วมือ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ให้สะอาด

2.นำยาที่เตรียมไว้ป้ายที่ปลายนิ้วชี้ หรือนิ้วก้อย ตามขนาดยาที่จะใช้ และการกวาดยาจะกวาดเพียงครั้งเดียวจะไม่กวาดใหม่ ดังนั้นจึงต้องใช้ยาเพียงพอสำหรับการกวาด 1ครั้ง

3. เผยอปากเด็กโดยใช้นิ้วแม่มือข้างที่ใช้กวาด กดลงที่ฟันหรือเหงือกล่างของเด็ก

4.มืออีกข้าง ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่หน้าเด็กใช้นิ้วทั้งสองอยู่ระหว่างแก้มเด็กทั้ง 2 ข้าง พร้อมกับประคองศรีษะเด็กให้นอนหงายขึ้นตรงๆ

5.เมื่อเด็กอ้าปากออก ก็สอดนิ้ว เข้าไปในลำคอเด็ก โดยป้ายยาลงบริเวณโคนลิ้นเบาๆ พอให้ยาติดอยู่ที่บริเวณโคนลิ้นแล้วค่อยๆ ดึงนิ้วออกพร้อมทั้งปล่อยหัวแม่มือที่กดอยู่ฟันล่างหรือเหงือกออก

หมายเหตุ : การกวาดยาควรกวาดยาวันละ 1ครั้ง ในตอนเย็น ถ้าอาการไม่มากให้กวาดวันเว้นวัน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ราคาค่ารักษา สำรองคิวการรับการปรึกษา
นัดหมายการรักษา ได้ที่ 081-7147438 , 095 - 1264488 ,
Lind ID : @2kclinic

 

 

 

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง
นวดกดจุดรักษาโรค
เป็นการใช้นิ้วมือกดนวดบริเวณร่างกายของมนุษย์ตามกายวิภาคศาสตร์ร่วมกับศาสตร์และศิลป์ของแพทย์แผนไทย โดย อ.พท.สุรศักดิ์ สิงห์ชัย
3 Jan 2024
รับปรึกษาปัญหาสุขภาพและตรวจโรคทั่วไป
ให้บริการตรวจทางเวชกรรมแผนไทยวินิจฉัยโรคด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีน
3 Jan 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy